Project


โปรแกรมรับค่าอายุมาคำนวณหาปีเกิดเป็น พ.ศ. และ ค.ศ.


         จากเนื้อหาความรู้ และบทความหรือ Link ต่างๆ ที่ผ่านมาใน Blog นี้ ทำให้ผมได้คิดโปรแกรมหนึ่งขึ้นมา โดยนำความรู้จากที่เรียนมา และหาเพิ่มเติมจากแหล่งอื่นๆ เป็นโปรแกรมที่ใช้คำนวณหาปี พ.ศ. และปี ค.ศ. ที่เราเกิด โดยการใส่อายุของเราเข้าไป โดยโปรแกรมนี้สร้างจาก Eclipe IDE เนื้อหาโปรแกรมก็จะมีดังนี้

Code หลักๆที่ใช้ก็คือ
    import คือ การบ่งบอกว่าเราจะนำเอา โปรแกรมอะไรมาใช้งาน
    public class คือ การประกาศชื่อโปรแกรมของเรา
    public static void main(String[] args) throws IOException คือ method ที่ใช้สำหรับ run program,  และสิ้นสุดเมื่อมี exeption
    BufferedReader in = new BufferedReader(new InputStreamReader(System.in)); คือ ประกาศคำสั่งที่ใช้ในการรับค่า
    int คือ การตั้งค่าให้เป็นตัวเลข
    System.out.println คือ การออกคำสั่งให้กับโปรแกรมว่าจะให้มันแสดงค่า


สำหรับตัวโปรแกรมที่เขียน Eclipe IDE ในการคำนวณหา พ.ศ. และ ค.ศ. เกิดก็จะเป็นดังนี้ครับ

import java.io.*;
public class ProjectByTanate {

public static void main(String[] args)throws IOException {
BufferedReader stdin = new BufferedReader(new InputStreamReader(System.in));
int value;
int birthday;
int A;
int B;
String C;
String D;
do{
System.out.println(" ");
System.out.print("ใส่อายุของคุณ :");
C = stdin.readLine();
A = Integer.parseInt(C);
value = 2013 - A;
birthday = 2556 - A;
System.out.println("ปี ค.ศ.ที่คุณเกิด คือ :" + value);
System.out.println("ปี พ.ศ.ที่คุณเกิด คือ :" + birthday);
System.out.print("คำนวณอายุต่อ ให้พิมพ์เลข 0:");
D = stdin.readLine();
B = Integer.parseInt(D);
}
while(B == 0);
}
}

+++ผลลัพธ์ของโปรแกรม+++
ใส่อายุของคุณ :19
ปี ค.ศ.ที่คุณเกิด คือ :1994
ปี พ.ศ.ที่คุณเกิด คือ :2537
คำนวณอายุต่อ ให้พิมพ์เลข 0:0

ใส่อายุของคุณ :

+++อธิบายตัวโปรแกรม+++
import java.io.*; //ใช้ io เพื่อรับค่าและแสดงผล เป็นแบบตายตัวที่ต้องใช้
public class ProjectByTanate //ชื่อคลาส {

public static void main(String[] args)throws IOException // method ที่ใช้สำหรับ run program,  และสิ้นสุดเมื่อมี exeption เป็นแบบตายตัวที่ต้องใช้
{
BufferedReader stdin = new BufferedReader(new InputStreamReader(System.in)); //ประกาศคำสั่งที่ใช้ในการรับค่า เป็นแบบตายตัวที่ต้องใช้
int value; //กำหนดให้ตัวแปร value เป็นชนิดตัวเลข โดยคำสั่ง int
int birthday; //กำหนดให้ตัวแปร birthday เป็นชนิดตัวเลข โดยคำสั่ง int
int A; //กำหนดให้ตัวแปร A เป็นชนิดตัวเลข โดยคำสั่ง int
int B; //กำหนดให้ตัวแปร B เป็นชนิดตัวเลข โดยคำสั่ง int
String C; //กำหนดให้ตัวแปร C เป็นชนิดตัวอักษร โดยคำสั่ง String
String D; //กำหนดให้ตัวแปร D เป็นชนิดตัวอักษร โดยคำสั่ง String
do //เริ่มทำการวนซ้ำ
{
System.out.println(" "); //แสดงผลออกมาเป็น " " 
System.out.print("ใส่อายุของคุณ :"); //แสดงผลออกมาเป็น "ใส่อายุของคุณ :" โดยที่ใช้ print ไม่ใช้ println เพราะ เมื่อเรากรอกอายุของเราเข้าไปตัวเลขที่เรากรอกมันจะต่อกับคำว่า "ใส่อายุของคุณ :" เลย แต่ถ้าเราใช้ println เมื่อเรากรอกตัวเลขอายุลงไป ตัวเลขนั้นจะเลื่อนลงมาอยู่ในบรรทัดต่อไป
C = stdin.readLine(); //การกำหนดให้ชนิดของค่าที่รับมาแล้ว ให้เปลี่ยนเป็นชนิดของตัวอักษร(String) เพราะ C มีชนิดเป็นตัวอักษร(String)
A = Integer.parseInt(C); //การเปลี่ยนชนิดของ C จากที่เป็น String ให้เป็นชนิดเดียวกับ A คือชนิดตัวเลข(int)
value = 2013 - A; //เป็นการคำนวณหาปีเกิดในแบบของ ค.ศ.
birthday = 2556 - A;  //เป็นการคำนวณหาปีเกิดในแบบของ พ.ศ.
System.out.println("ปี ค.ศ.ที่คุณเกิด คือ :" + value); //แสดงผลออกมาเป็น "ปี ค.ศ.ที่คุณเกิด คือ : ตามด้วยปี ค.ศ. ที่เกิด"
System.out.println("ปี พ.ศ.ที่คุณเกิด คือ :" + birthday); //แสดงผลออกมาเป็น "ปี พ.ศ.ที่คุณเกิด คือ : ตามด้วยปี พ.ศ. ที่เกิด"
System.out.print("คำนวณอายุต่อ ให้พิมพ์เลข 0:"); //แสดงผลออกมาเป็น "คำนวณอายุต่อ ให้พิมพ์เลข 0: "
D = stdin.readLine(); //การกำหนดให้ชนิดของค่าที่รับมาแล้ว ให้เปลี่ยนเป็นชนิดของตัวอักษร(String) เพราะ D มีชนิดเป็นตัวอักษร(String)
B = Integer.parseInt(D); //การเปลี่ยนชนิดของ D จากที่เป็น String ให้เป็นชนิดเดียวกับ B คือชนิดตัวเลข(int)
}
while(B == 0); //จบการวนซ้ำ เมื่อ B มีค่าเท่ากับ 0
}
}




อ้างอิงจาก เนื้อหาในบทเรียน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น